สุมนสามเณร

“ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญโม ทโม ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ บุคคลใดมีสัจจะ มีธรรมะ มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม มีความข่มใจ บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นนักปราชญ์ผู้บริสุทธิ์ ชื่อว่าเป็นเถระ ผู้มั่นคงในธรรม” https://www.boonnews.tv/n26872

1.5 พัน ผู้เข้าชม
สุมนสามเณร

ช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับชีวิตของเรา เพราะจะได้

ประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็น

สัจธรรมนำพาชีวิตให้เข้าถึงความสุข หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวล

 ปัจจุบันมนุษย์ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริง

ของชีวิต เมื่อไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ ชีวิตจึงต้องเวียนวนอยู่

ในกระแสแห่งความทุกข์ เหมือนถูกตรึงด้วยเครื่องร้อยรัดพันธนาการ

 แต่เมื่อได้ฟังพระสัทธรรม จะเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต แล้วมุ่ง

แสวงหาสาระอันแท้จริง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดคือ พระนิพพาน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า...

“บุคคลใดมีสัจจะ มีธรรมะ มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม มีความ

ข่มใจ บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นนักปราชญ์ผู้บริสุทธิ์ ชื่อว่าเป็นเถระ ผู้มั่นคง

ในธรรม”

ผู้ที่จะสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ มิได้จำกัดอยู่ที่อายุ เพศภาวะ หรือ

ฐานะความเป็นอยู่ หากอยู่ที่การฝึกฝนอบรมตนเอง และมีมโนปณิธาน

อันสูงส่งที่จะทำให้ถึงที่สุดแห่งการพ้นทุกข์ ด้วยการหมั่นชำระกาย วาจา

 ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ หากสามารถนำใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายได้

 ใจจะมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานอย่างเดียว ทำให้เป็นผู้สำรวมระวัง

 สงบระงับ มีความอดทนต่อกิเลสเครื่องล่อใจต่างๆ แล้วตั้งใจประกอบ

คุณงามความดีโดยไม่หวั่นไหว มีใจมั่นคงประดุจขุนเขาที่ไม่หวั่นไหว

ต่อแรงลมที่พัดมาจากทั่วสารทิศ

บุคคลเช่นนี้ เป็นผู้ที่หาได้ยากในโลก จึงไม่ควรล่วงเกินหมิ่นประมาท 

ไม่ว่าท่านจะอายุมากหรือน้อย เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม ก็ควรแก่การ

เคารพนับถือ แม้จะเกิดในครอบครัวที่ต่ำต้อย แต่จิตใจนั้นสูงส่ง ถึงมี

ผิวพรรณหยาบกร้านไม่น่าดู แต่มีใจใสสะอาดบริสุทธิ์ หรือแม้ว่ายังเป็น

เด็กเล็กอายุไม่กี่ขวบ แต่ใจนั้นยิ่งใหญ่ ยิ่งเป็นผู้ที่บรรลุคุณวิเศษต้อง

ระวัง อย่าไปพลั้งพลาดประพฤติผิดต่อท่าน เพราะจะเกิดโทษมหันต์

ผู้รู้ถึงได้แนะนำไว้ว่า สิ่งที่เราไม่ควรดูหมิ่นมี ๔ อย่าง คือ อย่าดูหมิ่น

ไฟว่ามีเพียงน้อยนิด อย่าดูหมิ่นอสรพิษว่าตัวน้อย อย่าดูหมิ่นกษัตริย์

ว่ายังหนุ่ม และอย่าดูหมิ่นสมณะว่ายังเยาว์ เพราะไฟแม้จะมีประกาย

เพียงนิดเดียว ถ้าลุกลามก็สามารถทำลายสิ่งต่างๆ ให้มอดไหม้ อสรพิษ

แม้จะตัวเล็กแต่พิษของมันก็สามารถทำให้เราถึงตาย กษัตริย์แม้ยังหนุ่ม

แต่ก็สามารถสั่งตัดสินประหารชีวิตคน หรือถ้าปกครองไพร่ฟ้า

ประชาราษฎร์โดยธรรม จะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข และสมณะ

แม้ว่าจะเป็นเพียงสามเณรน้อย แต่ถ้าบรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็เป็นผู้มี

อานุภาพมาก

เหมือนดังเรื่องของสุมนสามเณร แม้อายุยังน้อยแต่สามารถปราบพญานาค 

ที่มีฤทธานุภาพมากให้สิ้นฤทธิ์ เรื่องมีอยู่ว่า มีอุบาสกท่านหนึ่งเป็นผู้มี

ความศรัทธามาก ได้ให้ลูกชายชื่อ สุมนะ บวชเป็นสามเณรเพื่อคอย

อุปัฏฐากพระอนุรุทธเถระ สุมนะเป็นเด็กที่มีบุญได้สั่งสมบุญเก่ามาดี

ข้ามภพข้ามชาติ เพราะฉะนั้น เวลาบวช เพียงใบมีดโกนจรดปลาย

เส้นผม สามารถพิจารณาเห็นแจ้งถึงความไม่เที่ยงของสังขาร แล้ว

บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน พอโกนผมเสร็จทั้งศีรษะก็ได้บรรลุเป็น

พระอรหันต์ทันที

วันหนึ่ง ขณะที่พระอนุรุทธะกำลังเดินจงกรม โรคลมเสียดท้องก็เกิดขึ้น

กับท่าน สามเณรจึงเรียนถามพระอาจารย์ว่า “จะให้ช่วยรักษาอย่างไรบ้าง”

 พระเถระบอกว่า “ถ้าหากได้ดื่มน้ำจากสระอโนดาต ก็จะหายเป็นปกติ”

 สามเณรจึงอาสาจะไปเอาน้ำจากสระอโนดาตมาถวาย และรีบเหาะ

ไปที่สระอโนดาตทันที

วันนั้น พญานาคราชกำลังเล่นน้ำกับนาคบริวารอยู่ พอได้เห็นสามเณร

ยืนอยู่ในอากาศเหนือศีรษะของตนก็โกรธมาก แล้วคิดว่า “สมณะนี้

เหาะมาทางอากาศ ทำให้ฝุ่นที่เท้าตกลงมาบนศีรษะของเรา ท่านคง

จะมาที่นี่ เพราะต้องการน้ำในสระอโนดาตนี้แน่ แต่เราจะไม่ยอมให้น้ำ

อย่างเด็ดขาด" แล้วพญานาคก็ขยายตัวแผ่พังพานปิดสระอโนดาตไว้

สามเณรเห็นอาการของนาคราช ก็ทราบว่านาคราชกำลังโกรธ จึงกล่าวว่า

 “พญานาคราชผู้มีเดชกล้า มีกำลังมาก เรามาเพื่อจะขอน้ำไปรักษา

พระอาจารย์ ซึ่งกำลังอาพาธอยู่ ขอให้ท่านได้ให้น้ำแก่เราด้วยเถิด” 

นาคราชบอกว่า “แม่น้ำใหญ่  ๆ ไหลไปสู่มหาสมุทรมีตั้งหลายสาย

 ทำไมถึงไม่ไปเอา จะมาเอาจากที่นี่ทำไม”

สามเณรรู้ว่า พญานาคคงจะไม่ให้น้ำง่ายๆ จึงคิดจะทรมานพญานาค

ให้คลายทิฐิมานะ จึงบอกว่า “ท่านนาคราช พระอุปัชฌาย์ให้เรานำน้ำ

จากสระอโนดาตนี้เท่านั้น ขอท่านอย่าห้ามเราเลย” พญานาคฟัง

แล้วยิ่งโกรธหนักขึ้น จึงท้าสามเณรประลองฤทธิ์

สุมนสามเณรปรารถนาจะยอยกพระพุทธศาสนาให้สูงเด่น ให้เหล่าเทวดา

 พรหม อรูปพรหม ได้เห็นอานุภาพของพระรัตนตรัย จึงใช้ฤทธานุภาพ

เหาะไปหาเทวดาทุกชั้นฟ้า เพียงแค่เวลาชั่วลัดนิ้วมือเดียวก็ไปถึง

พรหมโลก ประกาศให้เทวดา และพรหมได้มาเป็นสักขีพยานว่า 

“เราเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะต่อสู้กับปันนกนาคราช

ที่สระอโนดาต ขอท่านทั้งหลายจงไปดูความพ่ายแพ้หรือชัยชนะที่

จะเกิดขึ้น เพื่อเป็นพยานให้กับเราด้วย”

เหล่าเทวดาทั้งหมดฟังคำของสามเณรแล้ว ก็มาประชุมกันเนืองแน่น

เต็มบริเวณ ซ้อนกันอยู่รายรอบสระอโนดาต ขณะนั้นพญานาคได้

แปลงร่างขนาดใหญ่ แผ่พังพานไม่ให้สามเณรนำน้ำไปได้ สามเณร

เริ่มประลองฤทธิ์กับพญานาคราช โดยเหาะขึ้นไปกลางอากาศแล้ว

เนรมิตกายสูงถึง ๑๒ โยชน์ เหยียบพังพานของพญานาค แล้วกด

หน้าให้ควํ่าลง

ทันทีที่เหยียบลงไปบนพังพานของพญานาคเท่านั้น แผ่นพังพานก็ได้

หดเข้าเหลือเล็กเท่าทัพพี น้ำในสระอโนดาตพุ่งขึ้นมาให้สามเณรรอง

ใส่ภาชนะที่นำมาจนเต็ม หมู่ทวยเทพต่างแซ่ซ้องสาธุการกันไปทั่วบริเวณ

ในที่สุดสามเณรก็สามารถนำน้ำไปถวายพระเถระได้สำเร็จ เมื่อท่านฉันน้ำ

นั้นแล้ว จึงหายจากอาการปวดท้องทันที

จากเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่าสามเณรแม้อายุยังน้อย แต่อานุภาพไม่ธรรมดา 

เพราะฉะนั้น จะไปดูหมิ่นสมณะว่ายังเยาว์  เป็นสามเณรน้อย ๆ คงไม่มี

ความสามารถอะไร สามเณรนี่แหละเป็นเหล่ากอของสมณะ ที่จะเป็นอายุ

ของพระศาสนา เป็นผู้สืบทอดพระสัทธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา

ให้ดำรงคงอยู่คู่โลกต่อไป

ดังนั้น แม้จะอยู่ในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ จะร่ำรวยหรือยากจน จะดำรงอยู่ใน

สถานะหรืออาชีพใดก็ตาม  หากภายในจิตใจเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม 

ปรารถนาจะทำให้สันติสุขบังเกิดขึ้นแก่โลก นับได้ว่าเป็นผู้ควรแก่การ

อนุโมทนาอย่างยิ่ง พวกเราก็เป็นคนหนึ่งที่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้

 เริ่มต้นด้วยการให้สิ่งที่ดีงามบังเกิดขึ้นในจิตใจของเราก่อน นึกถึงบุญกุศล

ที่เราได้ทำมา นึกถึงองค์พระหรือดวงธรรมใสๆ ที่อยู่ในตัวของเรา และ

หยิบยื่นสิ่งที่ดีงามนี้ให้แก่คนรอบข้าง ตลอดจนถึงคนทั้งโลก เหมือนกับ

ต้นน้ำที่เผื่อแผ่ธารน้ำอันชุ่มฉํ่าให้แก่สรรพสัตว์และต้นไม้ใบหญ้าให้ได้

รับความชุ่มชื่นโดยทั่วกัน

สันติภาพของโลกจะบังเกิดขึ้น ต้องเริ่มจากสันติสุขภายใน คือ เริ่มที่ใจ

ของเราก่อน ดังนั้นให้ทุกท่านเชื่อมั่นว่า เราสามารถทำให้โลกเกิดสันติสุข

ได้ และเราจะช่วยกันทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยที่

เราเข้าถึง เราจะเปลี่ยนแปลงโลกที่รุ่มร้อนให้เป็นโลกที่ร่มเย็น เปลี่ยนโลก

ที่เห็นแก่ตัวให้เป็นโลกที่รู้จักการแบ่งปัน ฉะนั้นให้เริ่มต้นด้วยการหมั่นเอา

ใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายให้ได้ตลอดเวลา ให้เข้าถึงความสุข

 แล้วแผ่ขยายความสุขไปให้แก่มวลมนุษยชาติ แล้วเราจะมีความสุข

ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรกันทุกคน

จากหนังสือธรรมะเพื่อประชาชน  ฉบับพุทธสาวก-พุทธสาวิกา 

หน้า ๒๓๑ - ๒๓๙

อ้างอิง.......พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ

(ภาษาไทย) เล่มที่   ๔๓ หน้า ๔๐๖

แชร์