พระนางเขมาเถรี อัครสาวิกาเบื้องขวา
“ตํ พฺรูมิ อุปสนฺโตติ กาเมสุ อนเปกฺขินํ คนฺถา ตสฺส น วิชฺชนฺติ อตาริ โส วิสตฺติกํ เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลายเหล่านั้นว่า เป็นผู้สงบ เพราะไม่มีกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด จึงข้ามพ้นตัณหาไปได้” https://www.boonnews.tv/n26898
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย มหาวรรค ว่า...
“เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลาย เหล่านั้นว่า เป็นผู้สงบ
เพราะไม่มี กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด จึงข้าม พ้นตัณหาไปได้”
ปัจจุบันเราอยู่ในยุคสมัยที่กัป กำลังไขลง จากที่เคยมีพุทธ
พยากรณ์ว่า หลังจากพุทธปรินิพพานแล้วทุกๆ ร้อยปี อายุมนุษย์
จะ ลดลง ๑ ปี มนุษย์จากที่เคยมีอายุยืนถึง ๑๐๐ ปี เมื่อเวลาผ่าน
ไป ๒,๕๐๐ ปี อายุมนุษย์จึงลดลงเหลือ ๗๕ ปี เพราะฉะนั้น ใคร
มีอายุยืน ๑๐๐ ปี หรือเกินกว่า ๗๕ ปี ก็ถือว่าเป็นอายุยืนแล้ว
นับวันอายุมนุษย์จะถอย ลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุ ๑๐ ขวบ
ในยุคนั้นพอคลอดจากครรภ์ มารดา อายุได้ ๕ ขวบ ก็คิดเรื่อง
แต่งงาน อยากมีคู่ครองกันแล้ว โอกาสที่จะแสวงหามรรคผล
นิพพานก็แทบจะไม่มี ใจของคนส่วนใหญ่ จะหมกมุ่นอยู่กับเรื่อง
การหากิน เกียรติยศชื่อเสียง ซึ่งผู้รู้ท่านบอกว่าเป็นเสมือนของร้อน
ที่ยิ่งเข้าไปผูกพัน ยึดมั่นถือมั่น จะมีแต่นำความร้อนรุ่มในจิตใจมาให้
อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ท่านถึงสอนไม่ให้ไปยึดมั่น ถือมั่น แต่ให้มุ่ง
แสวงหาสาระที่แท้จริงของชีวิต
มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยพุทธกาล พระนางเขมาเทวี เป็นพระมเหสี
ของพระเจ้าพิมพิสาร มีรูปกายที่สวยงามประหนึ่งนางฟ้าบนสรวง
สวรรค์พระนางทรงสดับที่พระบรมศาสดาทรงแสดงโทษใน
รูปว่าเป็นของไม่เที่ยง สักวันหนึ่งก็ต้องเสื่อมสลาย ไม่ให้ไปยึดมั่น
ถือมั่น ไม่ว่าจะเป็นร่างกายของตนเอง และของคนอื่น
เนื่องจากพระนางเป็นผู้มัวเมาในรูปโฉมของตนเองว่ามีความงาม
เป็นเลิศ จึงไม่กล้าไปเฝ้าพระทศพล เพราะทรงกลัวว่าพระบรมศาสดา
จะทรงแสดงโทษในรูปของพระนาง ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารทรงเป็น
พุทธมามกะ เป็นพระโสดาบันบุคคล มีความปรารถนาอยากให้พระมเหสี
ได้ฟังพระสัทธรรมบ้าง แม้จะทรงชักชวนไปพระวิหารหลายครั้ง แต่พระ
นางก็บ่ายเบี่ยง
พระราชาจึงใช้กุศโลบายด้วยการให้เหล่านักกวีประพันธ์ความ
งดงามของพระเวฬุวันราชอุทยาน แล้วให้ไปขับร้องใกล้ๆ สถานที่ที่
พระนางเขมาเทวีจะทรงได้ยิน เมื่อพระนางทรงได้สดับคำ
พรรณนาพระเวฬุวันมีพระประสงค์จะเสด็จไปชมพระราชอุทยาน
จึงทูลขออนุญาตพระราชา เพื่อไปทอดพระเนตร
พระราชาตรัสสั่งเหล่าบุรุษที่ไปกับพระนางว่า หากพระเทวีจะกลับ
จากสวนโดยไม่ยอมเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ก็ให้บังคับพานางไป
ให้ได้ นี่ก็เป็นข้อสังเกตว่า ความตั้งใจดีอยากให้คนอื่นได้พบเส้นทาง
สว่างของชีวิต บางครั้งจะชักชวนธรรมดา ใช้วิธีละมุนละม่อมไม่ได้
ต้องถึงกับบังคับกัน เหมือนเด็กที่เป็นไข้แล้วไม่อยากทานยา
พ่อแม่ก็ต้องบังคับให้กิน แม้ยานั้นอาจขม แต่เมื่อพ่อแม่เห็นว่าหาก
ลูกรับประทานยาขนานนั้น จะหายจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงจำเป็นที่จะต้อง
บังคับให้ลูกกิน
สมัยนั้น พระนางเขมาเทวีเสด็จชมพระราชอุทยานด้วยความ
เพลิดเพลิน เมื่อเสด็จกลับก็ไม่เฝ้าพระทศพล เหล่าราชบุรุษจึงใช้
พระราชอาชญาบังคับ โดยที่พระนางไม่ค่อยชอบพระทัยเท่าใดนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นพระนางกำลังเสด็จมา จึงทรงเนรมิต
เทพอัปสรนางหนึ่ง ซึ่งกำลังถือก้านใบตาล ถวายงานพัดอยู่
พระนางเขมาเทวีเห็นเทพอัปสรนั้นแล้วทรงพระดำริว่า สตรีท่าน
นี้สวยงามประดุจเทพอัปสรยังอุตส่าห์มาเฝ้าพระทศพล ถ้าเราเทียบ
กับนางแล้วเหมือนนางกากับนางหงส์
คิดอย่างนั้นและยืนดูเทพอัปสรด้วย ใจที่เคลิบเคลิ้มหลงใหลในรูปกาย
ของเทพธิดานางฟ้า แต่ด้วย พุทธานุภาพของพระตถาคตเจ้า
สตรีนั้นก็ปรากฏแปรเปลี่ยนไปตาม วัย ล่วงปฐมวัย ตั้งอยู่ในมัชฌิมวัย
แล้วก็ล่วงมัชฌิมวัยดำรงอยู่ในปัจฉิมวัย มีหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก
ฟันหัก หลังโกง แล้วสตรีนั้นล้มลงกลิ้งเกลือก พร้อมกับพัดใบตาล
ร้องโอดครวญ ทุกข์ทรมาน และเสียชีวิตไปต่อ หน้าต่อตา
พระนางเขมาเทวีได้พิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงของสังขาร และเนื่อง
จากพระนางเป็นผู้มีบุญบารมีที่สั่งสม ไว้อย่างดี จึงสอนตนเองว่า..
สรีระที่งดงามถึงเพียงนี้ ยังถึงความวิบัติ แม้สรีระ ของเราก็จักมี
คติอย่างนี้เหมือนกัน ขณะที่ กำลังมีดำริอยู่นั้น พระบรมศาสดา
จึงตรัสว่า ..“ชนเหล่าใด ถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปตาม กระแส
เหมือน แมลงมุมตกไปตามใยข่ายที่ตนเองทำไว้ ชนเหล่านั้น
ตัดกระแสนั้นได้แล้วไม่เยื่อใยในกามคุณทั้งหลาย ย่อมเว้นรอบ
จากกามคุณทุกอย่าง”
พอจบพระคาถา พระนางทรงอยู่ในอิริยาบถ ยืนก็บรรลุอรหัตผล
ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ธรรมดาว่าผู้อยู่ครองเรือนบรรลุเป็น
พระอรหันต์ จำต้องปรินิพพานหรือบวชเสียในวันนั้น เพราะเพศ
ภาวะของคฤหัสถ์ ไม่อาจจะรองรับ คุณธรรมของความเป็นพระ
อรหันต์ได้ พระนางรู้ว่าอายุสังขารของพระองค์ยังเป็น ไปได้ จึงตัด
สินใจที่จะออกผนวช เป็นภิกษุณี จะได้ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้
กับชาวโลก เมื่อดำริ เช่นนั้นแล้ว จึงเสด็จกลับ พระราชนิเวศน์
พระราชาทรงทราบโดยอาการนั้นว่าพระนาง คงจักได้มรรคผล
นิพพานขั้นสูงอย่างใด อย่างหนึ่ง เพราะวันนี้พระนางมีวรรณะ
เปล่งปลั่งผ่องใสและมีกิริยาอาการสำรวม น่าเลื่อมใสมากกว่า
วันก่อนๆ จึงตรัสถาม เรื่องราวทั้งหมด และทรงอนุญาตให้พระนาง
ออกบวชเป็นภิกษุณี ตามความประสงค์
เมื่อออกบวชแล้ว เนื่องจากความที่พระนางมี พระปัญญามาก
บรรลุพระอรหันต์ทั้งที่อยู่ ในเพศคฤหัสถ์ พระบรมศาสดาจึง
ทรงสถาปนา พระเขมาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เป็นเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาผู้มีปัญญามาก
นี่ก็เป็นตัวอย่างของผู้ที่เคยหลงใหลใน รูปกายของตนเอง
แต่เมื่อเทียบกับกายทิพย์ แล้วเทียบกันไม่ได้ เพราะความ
ละเอียด ประณีตสวยงามนั้นต่างกันราวฟ้ากับดิน
แต่เนื่องจากมนุษย์ส่วนใหญ่ ไม่เคย เห็นกายมนุษย์ละเอียด
ไม่เคยเห็นกายทิพย์ แม้กายพรหม อรูปพรหมที่มีความละเอียด
ประณีตใกล้ลักษณะมหาบุรุษเข้าไปทุกที ก็ไม่เคยเห็น ทำให้มัว
ยึดติดหลงใหลในกายมนุษย์หยาบทั้งที่เต็มไปด้วยของปฏิกูล
เพราะฉะนั้น จะปลดปล่อยวางจากกาย ภายนอกเหล่านี้ได้ ก็ต้อง
เข้าไปรู้จักกับกายที่มีความละเอียดประณีตภายใน จะเข้าถึง
ได้ก็ต้องอาศัยใจที่หยุดนิ่ง จึงจะไปรู้ไปเห็นได้ จะรู้เห็นได้ในปัจจุบัน
กันเลย ไม่ต้องรอให้ตายเสียก่อน ค่อยมารู้จักว่าเทวดาเป็นอย่างไร
หรือกายภายในอื่นๆเป็นอย่างไร หลวงปู่
วัดปากน้ำท่านใช้คำว่า “หยุดให้ได้เสียก่อน
ตกลงกันเรื่องหยุดให้มันได้เสียก่อน เรื่องอื่น
ใหญ่โตมโหฬารนัก อย่าพึ่งไปพูดถึง เมื่อว่า
หยุดได้แล้ว เรื่องอื่นก็ง่ายล่ะ” เริ่มตั้งแต่หยุดใจ
เป็นจะเห็นภาพภายใน เห็นว่าที่ศูนย์กลางกาย
ของเรา มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
ใสสว่างประดุจดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน
เมื่อหยุดถูกส่วนเข้า เราจะเข้าไปพบดวงธรรมต่างๆ ภายใน ตั้งแต่
ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และก็ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
ซ้อนกันเข้าไปเรื่อยๆ สุดกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ จะเข้าไปพบ
กับกายมนุษย์ละเอียด ท่านชายก็เหมือนกับท่านชาย ท่านหญิงเหมือน
ท่านหญิง ต่างกันแต่มีความละเอียดกว่าเดิม ประณีตกว่าเดิม งดงาม
กว่าเดิม นี่จะเห็นกันเข้าไปอย่างนี้
เมื่อหยุดถูกส่วนหนักเข้า จะเข้าไป พบกายในกายภายในทั้งหยาบ
และละเอียด ตั้งแต่กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม และเห็น
กายธรรม ซึ่งเป็นกายที่หลุดพ้นจากภพทั้งสาม เป็นกายที่ใสเกินใส
สวยเกินสวย งามไม่มีที่ติ และเป็นนิจจัง เป็นสุขัง เป็นอัตตา ที่ควร
ยึดถือไว้ ยามมีทุกข์ท่านก็ช่วยให้พ้นทุกข์ได้ มีสุขแล้ว เมื่อนำใจมา
หยุดอยู่ในกลางท่าน ความสุขจะเพิ่มพูน ทับทวีไม่มีสิ้นสุด
เพราะฉะนั้น ให้พวกเราทุกคนหมั่นนำใจมาหยุดมานิ่งที่ศูนย์
กลางกายให้ได้ทุกๆ วัน แล้วเราจะได้เข้าถึงพระธรรมกาย
มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกกันทุกๆคน
จากหนังสือธรรมะเพื่อประชาชน ฉบับพุทธสาวก-พุทธสาวิกา
หน้า ๒๙๕ - ๓๑๓
อ้างอิง.......พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ
(ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๓ หน้า ๘