มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - บุพกรรมนําพาชีวิต
บุญกุศลที่เราได้ทำ กรรมที่เราสร้าง ไม่ได้สูญหายไปไหน กลับกลายเป็นบุพกรรมที่คอยเกื้อหนุนหรือฉุดเราตลอดเวลา ดังเช่นบุพกรรมของพระจุลปันถกเถระ ท่านอาศัยบุญที่ทำไว้ดีแล้วในอดีต https://www.boonnews.tv/n27261
โลกมนุษย์เป็นดินแดนแห่งการสร้างบุญและบาป แล้วแต่ใครจะเลือก เหมือนชีวิตของพระบรมโพธิสัตว์ที่เกิดมา สร้างบารมีอย่างเดียว เราต้องเลือกดํารงชีวิตให้ถูกต้องร่องรอยด้วยการสร้างบุญบารมี เดินตามรอยบาทของพระบรมศาสดา
การสร้างบุญบารมีหรือการสร้างบาปกรรม ไว้ในอดีตนั้น ภาษาทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า บุพกรรม แปลว่า กรรมในกาลก่อนที่เราคุ้นเคย เรียกกันง่ายๆ ว่า กรรมเก่า ที่ส่งผลให้มนุษย์ทุกๆ คนได้รับแตกต่างกันออกไป ใครมีกรรมเก่า มาดี ย่อมจะได้ผลที่ดี ๆ ถ้ามีกรรมเก่าที่เป็นบาปอกุศลจะต้องได้ รับผลแห่งกรรมนั้น
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์” มีความหมายที่ง่ายๆ คือ ทํากรรมอย่างไร ย่อมได้รับผล อย่างนั้น ผลแห่งกรรมนั่นเองที่ส่งผลให้สัตว์ ทั้งหลายแตกต่างกันออกไป เหมือนดังเรื่องของพระเถระรูปหนึ่ง มีนามว่าจุลปันถกเถระ เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล
กว่าท่านจะมีวันนี้ของท่าน ไม่ใช่เรื่องง่าย มีเหตุที่มาที่ไป มีบุญและบาปอยู่ฉากหลัง พระจุลปันถกนี้ ท่านมีพระพี่ชายอยู่ องค์หนึ่งชื่อว่า มหาปันถก ซึ่งได้ออกบวช บรรลุพระอรหัต เสวยเอกันตบรมสุข ด้วยกายธรรมอรหัต เมื่อพบความสุขที่แท้จริง ท่านหวนระลึกถึงน้องชาย คิดอยู่ทุกวันว่า ทําอย่างไรจึงจะให้น้องชายของเราได้เข้าถึงความสุขอย่างนี้บ้าง ท่านตัดสินใจเข้าไปหาโยมตาซึ่งเป็นเศรษฐี และขอน้องชายกับโยมตาว่า “อาตมาอยากจะให้จุลปันถกได้มีโอกาส บวชบ้าง หากโยมตาอนุญาต”
โยมตาเป็นผู้ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว เมื่อพระหลานชายขอเช่นนั้น ก็ตกลงอนุญาต แม้ตนจะมีหลานรัก เหลือเพียงคนเดียว แต่เมื่อมองเห็นหนทางสว่าง หนทางแห่ง ความสุขที่แท้จริงของหลานชายจึงอนุญาต พระมหาปันถกเถระ ให้จุลปันถกบวช และสอนพระคาถาให้บาทหนึ่งว่า...“ดอกบัวชื่อว่าโกกนุท มีกลิ่นหอมบานแต่เช้าตรู่ จึงมีกลิ่นไม่สิ้นไป ฉันใด เธอจงทอดทัศนาการดูพระอังคีรสผู้ไพโรจน์ ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่กลางเวหา ฉันนั้น”
หลังจากสอนพระคาถาบาทนี้แก่น้องชายอยู่ถึงสี่เดือน ก็ไม่เห็นว่าจุลปันถก จะสามารถจดจําได้ เพราะกรรมเก่าของท่านที่เคยว่าผู้อื่นว่าโง่ พระมหาปันถกเถระจึงพูดขึ้นว่า...“จุลปันถก เธอคงไม่มีบุญที่จะอยู่ในพระศาสนาแล้ว เวลาล่วงเลยมาถึง ๔ เดือน ยังจําคาถาเพียงบาทเดียวไม่ได้ แล้วหน้าที่ของพระภิกษุ ซึ่งยังมีกิจที่สูง และยากยิ่งกว่านี้ เธอจะทําได้หรือ เธอจงออกไปจากที่นี่เสียเถิด”
ครั้นถูกพระพี่ชายต่อว่าเช่นนั้น ท่านเสียใจมาก เพราะในใจยังเสียดายผ้าเหลือง ไม่อยากลาสิกขา จึงยืนร้องให้อยู่ที่ ซุ้มประตูวิหาร แม้เวลาที่มีกิจนิมนต์ ซึ่งโยมนิมนต์พระถึง ๕๐๐ รูป พระมหาปันถกก็อนุญาตให้พระรูปอื่นไปหมด ยกเว้น พระจุลปันถกเท่านั้น ก็ยิ่งทําให้ท่านน้อยใจมากขึ้น
พระบรมศาสดาทรงล่วงรู้ความในใจ จึงเสด็จมาโปรด โดยบอกกัมมัฏฐานให้ตรงกับอุปนิสัยในกาลก่อนของท่านทรงมอบ ผ้าสะอาดให้ผืนหนึ่ง แนะนําให้บริกรรมภาวนาว่า “รโชหรณัง รโชหรณัง” เพียงพระบรมศาสดาตรัสบอกวิธี พระจุลปันถก ก็ทําตามโดยนั่งลูบคลําผ้าและบริกรรมจนกระทั่งใจหยุดใจนิ่ง สามารถกําจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปได้ บรรลุอรหัตตผล ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔ และอภิญญา ๖
หมอชีวกซึ่งได้นิมนต์พระไปฉันภัตตาหาร ขณะกําลังเริ่มจะถวายข้าวยาคู พระบรมศาสดาทรงปิดบาตรพลาง รับสั่งว่า... “ที่พระวิหารยังเหลือภิกษุอีกรูปหนึ่ง”
หมอชีวกจึงรีบส่งคนไปนิมนต์พระจุลปันถก ซึ่งตอนนั้นได้ บรรลุอรหัตตผลแล้ว ท่านได้แสดงอิทธิฤทธิ์จากพระรูปเดียว ให้มองเห็นเป็นร้อย เป็นพัน จากนั้นท่านได้เดินทาง ไปที่พระวิหาร และพระบรมศาสดารับสั่งให้พระจุลปันถกเป็น ผู้กล่าวอนุโมทนากถาของการถวายภัตตาหารในครั้งนี้
พระเถระได้แสดงธรรมอย่างไพเราะ ยังใจของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย ให้เบิกบานอยู่ในบุญ วันนั้นพระภิกษุ ทั้งหลายต่างอัศจรรย์ใจในการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของพระจุลปันถก พากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า น่าอัศจรรย์ใจนักที่พระเถระ จากผู้มีความทรงจําไม่ดี แต่กลับบรรลุธรรมขั้นสูงได้ นี่เป็น เพราะความเมตตาของพระบรมศาสดาแท้ ๆ พระพุทธองค์ได้ ทรงแต่งตั้งพระจุลปันถูกไว้ในตําแหน่งเอตทัคคะแห่งภิกษุผู้เลิศ กว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้สามารถเนรมิตกายที่สําเร็จด้วยใจ
หลังจากได้รับแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาแล้ว พระเถระ ระลึกย้อนหลังถึงบุพกรรมที่ได้ทํามาในอดีตชาติ พบว่า....มีอยู่ภพชาติหนึ่ง ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านได้เกิดเป็นดาบสอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกออกจากหมู่ภิกษุ ทรงจาริกไปตามลําพัง เพียงพระองค์เดียว เสด็จเข้าไปยังที่สงัดอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ใกล้อาศรมของดาบส ดาบสเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จอยู่ เพียงลําพัง จึงกันร่มที่ทําด้วยดอกปทุมและดอกอุบล แล้วน้อมถวายด้วยจิตเลื่อมใส
พระบรมศาสดาทรงรับไว้แล้วทรงพยากรณ์ในทันทีว่า “ดูก่อนดาบสด้วยบุญที่ท่านถวายฉัตรดอกไม้กั้นร่มให้เราตถาคตนี้ ท่านจะได้เป็นท้าวสักกะ ครองเทวสมบัติที่ชั้นดาวดึงส์ถึง ๒๕ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๓๔ ครั้ง แม้จะเกิดในภพภูมิใด จะมีปทุมทิพย์กางกั้นให้ท่านเสมอ”
พระดาบสปีติใจอย่างยิ่งที่ได้รับพุทธพยากรณ์เช่นนั้น นับตั้งแต่ภพชาตินั้นท่านก็ได้บรรลุผลที่พระบรมศาสดาพยากรณ์ ไว้ทุกประการ
จะเห็นได้ว่า บุญกุศลที่เราได้ทํา กรรมที่เราสร้าง ไม่ได้ สูญหายไปไหน กลับกลายเป็นบุพกรรมที่คอยเกื้อหนุนหรือ ฉุดเราตลอดเวลา ดังเช่นบุพกรรมของพระจุลปันถกเถระ ท่านอาศัยบุญที่ทําไว้ดีแล้วในอดีต พลิกผันวิถีชีวิตจากปุถุชน ผู้ท่องจําคําสอนไม่ได้แม้เพียงบาทเดียว กลับกลายมาเป็นพระอริยบุคคลผู้มีฤทธิ์มีเดช มีอานุภาพ สามารถปาฏิหาริย์กายได้ เป็นพัน ๆ กาย
คําว่า “บุญ” มีอานุภาพมากมายถึงเพียงนี้ ถ้าเรารัก การสั่งสมบุญและไม่หยุดสร้างบุญ บุญจะไม่มีวันทอดทิ้งเรา แต่จะเป็นเสมือนเงาที่คอยติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ รอคอย จังหวะที่สมควรเพื่อให้ผลตลอดเวลา ซึ่งหากเป็นบาปอกุศล วิบากกรรมนั้นก็จะตามสั่งผลเช่นกัน เพราะกรรมดีหรือกรรมชั่ว ที่เราได้ทําเอาไว้ในอดีต จะมีอิทธิพลต่อตัวเราในปัจจุบัน
ถ้าหากภพชาตินี้เราสั่งสมแต่บุญกันล้วนๆ บุญนี้จะส่งผลให้เรามีความสุขความเจริญในอนาคต เมื่อใดที่เรามีธรรมจักขุ และมองย้อนระลึกกลับไปในอดีต หากเราทําแต่บุญ เมื่อนั้นมหาปิติย่อม จะบังเกิดขึ้น ภาพดี ๆ จะเกิดขึ้นในใจของเรา ฉะนั้นให้ตั้งใจ สร้างแต่บุญเท่านั้น และสร้างให้เต็มที่กันทุกคน
จากหนังสือธรรมะเพื่อประชาชน ฉบับมงคลชีวิต ๑ หน้า ๔๖๗-๔๗๕
อ้างอิง.......พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย)
จุลลปันถกเถราปทาน เล่มที่ ๗๑ หน้า ๑๘